all - logo RS

all - logo RS

แนวทางการดำเนินงาน

ปัจจุบัน เทคโนโลยีก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจ สังคมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ทรัพย์สินทางปัญญามีบทบาทสำคัญมากยิ่งขึ้นกับสังคมปัจจุบัน หลายๆท่านสงสัย หรือไม่ว่า“ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property)” คืออะไร ทำไมถึงมีบทบาทกับสังคม รวมถึงการดำรงชีวิตในปัจจุบันของท่าน และทำไมถึงต้องมีการปกป้องคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาโดยเฉพาะ “ลิขสิทธิ์ (Copyright)” จนบางครั้งอาจไปกระทบกระเทือนสิทธิของท่านได้ ทั้งที่ท่านเองอาจไม่คิดว่าเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นปัญหาที่ร้ายแรงของสังคม เหมือนเช่นปัญหาอาชญากรรมอย่างอื่นๆ แต่ท่านทราบหรือไม่ว่าการละเมิดลิขสิทธิ์กลับเป็นปัญหาที่สำคัญของสังคม รวมถึงความมั่นคงของประเทศในบทความนี้ได้กล่าวถึงกฎหมายลิขสิทธิ์อย่างย่อ เพื่อให้ผู้อ่านได้ทำความเข้าใจกับ คำว่า “ลิขสิทธิ์” พร้อมแนะนำกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ รวมทั้งเบอร์โทรศัพท์ต่างๆที่สำคัญ
๑. ลิขสิทธิ์ คือ

ลิขสิทธิ์ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์
ลิขสิทธิ์ เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใดๆเกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ทำขึ้น
๒. ประเภทของงาน
งานสร้างสรรค์ แสดงออกเป็นงานประเภทต่างๆ
งานทั่วไป ได้แก่ วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง
งานแพร่เสียง แพร่ภาพ หรืองานอื่นใดอันเป็นงานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
“งานดนตรีกรรม” หมายถึง งานเพลงที่ประกอบด้วยทำนองและคำร้อง หรือมีทำนองอย่างเดียวไม่ว่างานเพลงนั้นจะอยู่ในรูปแบบใด
“งานโสตทัศนวัสดุ” หมายถึง งานอันประกอบด้วยลำดับของภาพโดยบันทึกลงในวัสดุ ไม่ว่าจะมีลักษณะอย่างใดนำมาเล่นซ้ำได้อีกรวมถึงเสียงประกอบงานนั้นด้วย
งานสืบเนื่อง ได้แก่ งานดัดแปลง งานรวบรวม
๓. การได้มาซึ่งลิขสิทธิ์
งานอันมีลิขสิทธิ์จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายทันทีที่มีการสร้างสรรค์งานนั้นขึ้นโดยไม่ต้องจดทะเบียนเพื่อขอรับความคุ้มครอง เช่น การประพันธ์เพลง กฎหมายลิขสิทธิ์จะคุ้มครองในเนื้อร้องและทำนอง รวมทั้งคุ้มครองในการเผยแพร่ภาพและเสียงของงานเพลงดังกล่าวด้วยหากผลงานเพลงนั้นได้จัดเป็นมิวสิควีดีโอ หรือคาราโอเกะขึ้น
๔. สิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่เพียงผู้เดียว ดังนี้
• สิทธิในการทำซ้ำหรือดัดแปลง วิเคราะห์ศัพท์ของ “ทำซ้ำ” และ “ดัดแปลง”
“ทำซ้ำ” หมายความรวมถึง คัดลอกไม่ว่าวิธีใดๆ เลียนแบบ ทำสำเนา ทำแม่พิมพ์ บันทึกเสียง
บันทึกภาพ สำหรับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้หมายความรวมถึง คัดลอก
หรือทำสำเนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จากสื่อบันทึกใด
ไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ ในส่วนอันเป็นสาระสำคัญ โดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่
“ดัดแปลง” หมายความว่า ทำซ้ำโดยเปลี่ยนรูปใหม่ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม
หรือจำลองงานต้นฉบับในส่วนอันเป็นสาระสำคัญโดยไม่มีลักษณะเป็นการจัดทำงานขึ้นใหม่
• สิทธิในการเผยแพร่ต่อสาธารณชน
“ เผยแพร่ต่อสาธารณชน” หมายความว่า ทำให้ปรากฏต่อสาธารณชน โดยการแสดงการบรรยาย
การสวด การบรรเลง การทำให้ปรากฏด้วยเสียงและหรือภาพ การก่อสร้าง การจำหน่าย
หรือโดยวิธีอื่นใดซึ่งงานที่ได้จัดทำขึ้น 
 • สิทธิในการให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง  ข้อสังเกต สิทธิในการให้เช่าตามกฎหมายลิขสิทธิ์ จำกัดในงาน ๔ ประเภท คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
• สิทธิในการให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น

หมายถึง การที่เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการใช้ลิขสิทธิ์ของตนที่พึงได้รับให้แก่ผู้อื่นไปได้
• สิทธิในการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวของเจ้าของลิขสิทธิ์

หมายถึง เจ้าของลิขสิทธิ์มีสิทธิอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิ ( license ) ในการทำซ้ำหรือดัดแปลงหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนได้ โดยในการอนุญาต เจ้าของลิขสิทธิ์ในฐานะผู้ให้อนุญาต ( licensor ) จะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดด้วยก็ได้
๕. สิ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์ไม่ได้ให้ความคุ้มครอง ดังนั้นบุคคลต่างๆจึงสามารถใช้ประโยชน์จากงานดังกล่าวได้อย่างเสรี
• ข่าวประจำวัน และข้อเท็จจริงต่างๆ ที่มีลักษณะเป็นเพียงข่าวสาร อันมิใช่งานในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ
• รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย
• ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง คำชี้แจง และหนังสือโต้ตอบของกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่น
• คำพิพากษา คำสั่ง คำวินิจฉัย และรายงานของทางราชการ
• คำแปลและการรวบรวมสิ่งต่างๆ ตามข้อ ๑-๔ ที่กระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐหรือของท้องถิ่นจัดทำขึ้น
๖. อายุการคุ้มครองลิขสิทธิ์

งานทั่วๆไป ลิขสิทธิ์จะมีตลอดอายุผู้สร้างสรรค์ และจะมีต่อไปอีก ๕๐ ปี นับแต่ผู้สร้างสรรค์ถึงแก่ความตาย กรณีเป็นนิติบุคคล ลิขสิทธิ์จะมีอยู่ ๕๐ ปี นับแต่ได้สร้างสรรค์งานนั้นขึ้น
๗. การละเมิดลิขสิทธิ์ มี ๒ ประเภท คือ การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง และการละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม
•การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรงการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์โดยไม่ได้รับอนุญาต จากเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำการทำซ้ำ หรือดัดแปลง
หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน
• การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อมการกระทำที่สืบเนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์
โดยตรงและมีลักษณะเป็นการส่งเสริม
ให้งานที่ละเมิดลิขสิทธิ์มีการแพร่หลายออกไป
๘. บทกำหนดโทษ

หากบุคคลใดกระทำการ ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือทำสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์
โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของสิทธินั้น
ถือว่าเป็นการกระทำละเมิดสิทธิ จะต้องรับผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา
ในบทความนี้ขอกล่าวเฉพาะในคดีอาญาละเมิดลิขสิทธิ์
ซึ่งในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้บัญญัติระวางโทษมีความแตกต่างกันไป
แล้วแต่ลักษณะของความผิดกล่าวคือ
• ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรงซึ่งมิได้ทำเพื่อการค้า ๙ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต

๒๐,๐๐๐ บาท ถึง ๒๐๐,๐๐๐ บาท
• ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรงซึ่งทำเพื่อการค้า ๑๐ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่
๖ เดือน ถึง ๔ ปี หรือ ปรับตั้งแต่ ๑๐๐,๐๐๐ บาท ถึง ๘๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
• ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อมซึ่งไม่ได้ทำเพื่อการค้า ๑๑ ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่
๑๐,๐๐๐ บาท ถึง ๑๐๐,๐๐๐ บาท
• ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อมซึ่งได้กระทำเพื่อการค้า ๑๒ ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่
๓ เดือน ถึง ๒ ปี หรือ ปรับตั้งแต่ ๕๐,๐๐๐ บาท ถึง ๔๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ไม่มีความคิดเห็น: